ไคโรแพรคติก..นวดแผนไทย..กายภาพบำบัด 3 ความเหมือน ที่แตกต่าง

กรุงเทพมหานคร (27 กรกฎาคม 2565)- งานวิจัยฉบับใหม่ของบริษัทวิจัยด้านการตลาดระดับโลก Mintel (มินเทล) ชี้ ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 8 ใน 10 ราย ต่างประสบปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
August 3, 2022
ท้องเสีย ซ่อมได้… ใช้ยาให้ถูกต้อง
August 31, 2022

เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า อาการปวดกล้ามเนื้อเพราะยกของหนัก  ปวดตึงบริเวณคอบ่าไหล่เพราะนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน รวมถึงอาการปวดศีรษะร้าวลงแขนและขา  ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรหันไปปรึกษาใคร หรือรักษาแบบไหนดี  จะเลือกไปนวดแผนไทย ไปทำกายภาพบำบัด หรือหันไปพึ่งการแพทย์ทางเลือกอย่างศาสตร์ไคโรแพรคติก

สำหรับเมืองไทย ศาสตร์ไคโรแพรคติก อาจดูเป็นเรื่องใหม่ แต่จริงๆแล้ว การรักษาด้วยไคโรแพรคติกเป็นที่แพร่หลายอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกากว่า 100 ปีแล้ว ส่วนการนวดแผนไทยและการทำกายภาพบำบัด หลายคนคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่หากจะให้เลือกว่าอาการอย่างไรควรรักษาด้วยวิธีไหนดี เชื่อว่าหลายคนอาจเลือกไม่ถูก เพื่อให้เข้าใจถึงข้อดีข้อเสียรวมถึงความเหมือนและความต่างของการรักษาแต่ละวิธี

รู้จักกับ “ไคโรแพรคติก”

                ไคโรแพรคติก คือศาสตร์การแพทย์ทางเลือกที่เชี่ยวชาญด้านการจัดปรับข้อกระดูกที่ผิดรูปหรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ และไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ เพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะทำการรักษาด้วยมือ ไม่พึ่งการใช้ยาหรือการผ่าตัดใดๆ

หลักของไคโรแพรคติกมองว่าร่างกายจะดีได้นั้น ระบบอวัยวะต้องแข็งแรง ซึ่งความแข็งแรงของระบบอวัยวะต่างๆ ก็มาจากการที่ระบบประสาทแข็งแรง และไม่ถูกรบกวนจากสิ่งใดๆ ซึ่งไคโรแพรคติกเป็นการใช้ 3 ศาสตร์เข้ามาผสมผสานกันอย่างลงตัว คือ

  1. ปรัชญา โดยไคโรแพรคติกมองว่า ร่างกายเราเจ็บปวดและป่วยจากกระดูกทับเส้นประสาทแล้วไปรบกวนการทำงานของสัญญาณชีวิต ซึ่งหากสัญญาณประสาทปกติร่างกายก็จะสามารถซ่อมแซมและพัฒนาตัวเองตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
  2. ศิลปะ เพราะเครื่องมือเพียงอย่างเดียวที่หมอไคโรแพรคติกใช้ก็คือมือ ไม่มีการใช้ยา หรืออุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ใส่เข้าไปในร่างกาย
  3. วิทยาศาสตร์ คือ เป็นการพิสูจน์ทราบจากสมมุติฐานที่ว่า “หากอวัยวะหนึ่งในร่างกายแสดงอาการเจ็บปวดขึ้นก็ต้องมีการไปจัดการกับต้นทางของสัญญาณประสาทที่ส่งมา”

ไคโรแพรคติก & นวดแผนไทย..วิธีต่างไป แต่เป้าหมายเดียวกัน

การนวดมี 2 รูปแบบ คือ นวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นการนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คลายเครียด คลายความเมื่อยล้า ส่วนรูปแบบที่สองคือ การนวดเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ปวดหลัง, ข้อเท้าแพลง เป็นต้น โดยการนวดเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยนั้น ผู้นวดต้องมีความรู้เกี่ยวกับสรีระวิทยา ตำแหน่งของเส้นเลือด เส้นประสาท เส้นเอ็น รวมถึงความหนาบางของกล้ามเนื้อ เพื่อใช้ในการกดลงน้ำหนัก

หากมองไปที่เป้าหมายของการนวดเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย คือการช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ซึ่งจะส่งผลให้กลไกการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ เพราะโดยธรรมชาติร่างกายจะรักษาตัวเอง ประเด็นนี้ดูจะมีความใกล้เคียงกับแนวทางการรักษาด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติก ที่ทำการจัดปรับกระดูกไม่ให้ไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท เพื่อให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

แม้การนวดเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยจะมีเป้าหมายคล้ายกันกับไคโรแพรกติก แต่มีข้อสังเกตว่า การนวดที่เราพบเห็นได้ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ จึงเป็นการนวดเพียงเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คลายเครียด และคลายความเมื่อยล้า เท่านั้น ไม่ได้เป็นการช่วยรักษาและบำบัดอาการของโรคแต่อย่างใด

 

ไคโรแพรคติก & กายภาพบำบัด..ความต่างที่ไม่มีทางลงตัว

กายภาพบำบัด เป็นศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันที่เป็นส่วนหนึ่งของศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โดยแพทย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย จะทำการช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อบำบัด ป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูการเสื่อมสมรรถภาพ หรือความพิการของร่างกาย หรือจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การดัด การดึง การประคบ การนวด การบริหารร่างกาย หรืออวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้ป่วย ซึ่งอาจมีการใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดเข้ามาช่วยในการฟื้นฟู เพื่อให้อาการทุเลาลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากายภาพบำบัดไม่ได้ทำการรักษาอย่างลึกซึ้งเหมือนกับไคโรแพรคติก เพราะเป้าหมายปลายทางของการทำกายภาพบำบัด เป็นเพียงการฟื้นฟูเฉพาะกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นแต่ละจุดเท่านั้น ไม่ได้ทำเพื่อให้สุขภาพในทุกๆ ด้านของร่างกายดีขึ้นเช่นเดียวกับการรักษาด้วยไคโรแพรคติก

 

ไคโรแพรคติก..นวดแผนไทย..กายภาพบำบัด

3 ความเหมือน ที่แตกต่าง

แม้จะเป็นการช่วยบำบัดรักษาโรคและอาการเกี่ยวกับกระดูก กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เหมือนๆ กัน แต่การทำกายภาพบำบัด การนวด และการรักษาด้วยไคโรแพรคติก ยังมีประเด็นที่แตกต่างกัน

ทั้งกายภาพบำบัดและการนวด มีปรัชญาในการรักษาที่ต่างจากไคโรแพรคติกอย่างสิ้นเชิง เพราะกายภาพบำบัด และการนวดเชื่อว่าร่างกายของเราต้องได้รับสาร หรือต้องบริโภคสิ่งหนึ่งเข้าไปจึงจะทำให้สุขภาพดีขึ้นได้ ต้องบีบต้องเค้นเพื่อให้คลายปวดคลายเมื่อย ต้องมีปัจจัยภายนอกเข้าไปกระทำต่อร่างกาย ร่างกายจึงจะฟื้นฟูตัวเองขึ้นมาได้ อาการปวดจึงจะทุเลาลง คล้ายกับรถยนต์ที่ต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่และซ่อมบำรุงอยู่เป็นประจำ จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน แต่ไคโรแพรคติกนั้นไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่บรรเทาอาการปวดเท่านั้น หากแต่หมายถึงการทำให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมตัวเองได้จากภายใน ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น พฤติกรรมการกิน, การเดิน รวมถึงการปรับอารมณ์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอายุ และพฤติกรรมที่เคยสั่งสมมา ว่าทำให้เกิดอาการของโรครุนแรงมากน้อยเพียงใด”

 

จะเห็นได้ว่าศาสตร์ทุกแขนงล้วนมีข้อดีข้อเสียและมีปรัชญาในการรักษาที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นหากจะให้แนะนำว่าอาการปวดในลักษณะต่างๆ จะรักษาได้ด้วยวิธีใดคงยาก ซึ่งผู้ที่รับการรักษาต้องศึกษา และทำความเข้าใจกับการรักษานั้นๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจ เหมือนกับ “ตาบอดคลำช้าง” หากเรามองไม่เห็นและสัมผัสเจอกับงวงช้างเพียงอย่างเดียว แล้วสรุปรวมว่านั่นคือช้างในแบบที่คุณเห็น เห็นทีจะไม่ได้  เพราะหากอีกคนหนึ่งมาจับแล้วสัมผัสได้กับหางของช้าง…ช้างในแบบที่คุณรู้จักก็ต่างกันออกไป ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งถูก มีเพียงแค่คนที่ไม่รู้จริงเท่านั้น

อย่าเชื่อเพียงเพราะคนอื่นบอกต่อกันมา อย่าเชื่อเพราะคิดไปเองว่าการรักษาแต่ละแบบล้วนให้ผลปลายทางที่เหมือนกันทั้งหมด…เพราะสุขภาพไม่ใช่เรื่องที่ลองผิดลองถูกกันได้นะคะ

Buy now