สำลักอันตรายถึงชีวิต

แคลอรี่
 สมดุลเข้าออก “แคลอรี่”
July 10, 2023
สำลัก

 

 

            รู้หรือไม่ว่ามีคนเสียชีวิตจากการสำลักอาหาร ปีๆ นึงเป็นจำนวนไม่น้อย เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นได้ใกล้ๆ ตัวเรามาก หรือเราอาจจะเกิดสำลักขึ้นมาได้

โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็กๆ ที่ระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารไม่ค่อยจะแข็งแรงอยู่แล้วอาการแบบนี้ก็จะเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ใช่เฉพาะอาหารเท่านั้น น้ำดื่มเองก็ทำให้เกิดการสำลักได้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปอดอักเสบติดเชื้อ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

สำลัก

            สังเกตได้จากหากมีการไอในระหว่างรับประทานอาหารหรือน้ำ ควรจะต้องหยุดการทานอาหาร หากมีอาการผิดปกติให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที

 

เมื่อผู้สูงอายุเกิดอาการสำลัก หรือมีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น จะมีสัญญาณอันตราย เช่น เกิดอาการหายใจ ติดขัด มีเสียงคล้ายนกหวีดขณะหายใจ พยายามพูดแต่ไม่มีเสียง อาจหมดสติภายใน 4-5 นาที และอาจจะเสียชีวิตได้ การดูแลเบื้องต้น ผู้สูงอายุอาจไม่มีแรงในการไอเพื่อขับสิ่งที่อุดกั้นทางเดินหายใจให้ออกมา ต้องช่วยโดยการยืนด้านหลังผู้สูงอายุ ใช้มืออ้อมจากด้านหลังมากำมือประสานไว้ที่หน้าท้องผู้สูงอายุ เหนือสะดือเล็กน้อย กระแทกมือขึ้นด้านบนบริเวณกะบังลมอย่างรวดเร็ว โดยใช้แรงพอสมควร ตามจังหวะที่ผู้สูงอายุพยายามหายใจเอาสิ่งที่อุดกั้นออก หลังจากนั้นให้สังเกตว่าสิ่งใดที่อุดกั้นทางเดินหายใจ เพื่อเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือต่อไป

สาเหตุของการสำลักอาหารในผู้สูงอายุ เกิดได้จากช่วงวัยที่มากขึ้น การทำงานของระบบการกลืนอาหาร การทำงานของช่องปาก กลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืนลดลง ระบบอวัยวะต่าง ๆ จะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น สำลัก ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ รวมถึงการมีเสมหะ เศษอาหาร หรือฟันปลอมที่ชำรุดไปอุดกั้นทางเดินหายใจ

สำลัก

            วิธีป้องกันการสำลัก

  • ควรทานอาหารที่ย่อยง่าย
  • อาหารรสไม่จัดจนเกินไป
  • ไม่ควรออกแรงหนักๆ ก่อนทานอาหาร
  • หั่นอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ พอคำ
  • ทานอาหารให้เสร็จแล้วค่อยดื่มน้ำ
  • นั่งตัวตรงเวลาทานอาหาร
  • ฝึกเคี้ยวนานๆ แล้วค่อยกลืนอาหาร
  • ตรวจสุขภาพปากและฟันบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีก้าง หรือเส้นใยเยอะๆ

วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อสำลักอาหาร

  • เมื่อ “ตัวเอง” สำลักอาหาร

    ในกรณีที่เรารับประทานอาหารอยู่คนเดียว แล้วจู่ ๆ เกิดสำลักอาหารขึ้นมา ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้

    รวบรวมสติ แล้วดื่มน้ำ แต่หากไม่มีน้ำ พยายามยืดคอตรงๆ เพื่อเปิดหลอดอาหารให้กว้างขึ้น แล้วไอออกมาแรงๆ
    2.กำมือหนึ่งข้างนำมาวางบริเวณเหนือสะดือ (กรณีคนอ้วน/ท้อง เปลี่ยนตำแหน่งเป็นร่องอก ) แล้วใช้มือข้างที่เหลือนำมากุมมือที่กำไว้ กระทุ้งให้สิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย / หากแรงกดไม่พอ ลองใช้ขอบโต๊ะ หรือเก้าอี้ช่วยเพิ่มแรงกด
    3.ออกไปหาคนช่วยเหลือ หรือโทร. เรียกหน่วยกู้ชีพ

 

สำลัก

  • เมื่อ “คนอื่น” สำลักอาหาร

    ต้องสังเกตอาการ หากเห็นว่า เขาจะหายใจไม่ออก เอามือกุมคอ พยายามจะพูดแต่ไม่มีเสียง ต้องรีบถามเลยว่าสำลักอาหารใช่หรือไม่ หากเขาส่งสัญญาณว่าใช่ ปฏิบัติดังนี้

    ไปทางด้านหลังของผู้ที่สำลักอาหาร
    2.เอามือสองข้างโอบรอบพุงของคนที่กำลังสำลัก
    3.มือข้างหนึ่งกำไว้แล้วเอามือที่เหลือมากุม บริเวณเหนือสะดือ แต่ใต้ลิ้นปี่
    4.ออกแรงกระทุ้งแรง ๆ ในลักษณะกระชากสองมือเข้าหาตัวเอง
    5.ทำเรื่อย ๆ จนผู้ที่สำลักอาหารมีอาการไอ หรือพูดให้ได้ยินเสียง ก็ถือว่าดีขึ้น

 

Buy now