สูงวัยเลือกกินอย่างไร ..ให้ห่างไกลโรค

ย้อมสีผมบ่อยมะเร็งจริงหรือ?
January 27, 2022
ยา “ทรามาดอล” ใช้ผิดอาจถึงตาย
January 29, 2022

“ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้” เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินได้ฟังประโยคนี้มาบ้างแล้ว แต่อาจยังไม่เข้าใจว่าจริงๆ แล้วสังคมผู้สูงอายุคืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับตัวเองหรือคนอื่นๆในสังคมอย่างไร รวมถึงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วควรจะดูแลตนเองอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องโภชนาการและอาหารการกิน

 

อย่างไรจึงเรียกว่าสังคมผู้สูงอายุ ?

องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้ให้คำนิยามว่า ผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึงประชากรทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และได้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น 3 ระดับ คือ

  1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
  3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่แล้ว

สำหรับประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2568 นั่นก็หมายความว่าใน 5 คนที่เดินมาจะต้องมีอยู่ 1 คนที่เป็นผู้สูงอายุ และในหนึ่งครอบครัวจะต้องมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปอย่างน้อย 1 คน ซึ่งผู้สูงอายุนี้มักมีปัญหาสุขภาพ ที่เราต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ

ปัญหาโภชนาการในผู้สูงอายุ

ปัญหาด้านโภชนาการที่พบได้ในผู้สูงอายุ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอายุ 60 – 70 ปี มักมีปัญหาโภชนาการเกิน และกลุ่มอายุ 80 ขึ้นไป มักมีปัญหาโภชนาการขาด

“โภชนาการเกิน ก็คือถ้าเราดูจากค่าดัชนีมวลกายจะพบว่ามีค่ามากกว่า 25 ขึ้นไป (ถือว่าอ้วน) ซึ่งถ้าดูในภาพรวมของผู้สูงอายุ โดยไม่แบ่งกลุ่มอายุจะพบว่ามีภาวะโภชนาการเกินมากกว่าโภชนาการขาด นั่นหมายความว่าผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องความอ้วนจะมากกว่าคนที่ผอม…ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอายุ 30 ปี ระบบเผาผลาญในร่างกายของเรายังทำงานได้อย่างดีเยี่ยม แต่เมื่ออายุมากขึ้นความอ้วนก็เริ่มถามหา ซึ่งมันเป็นธรรมชาติของร่างกายที่การเผาผลาญจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ถ้าเราเทียบว่าตอนอายุ 30 เรามีอัตราการเผาผลาญเท่ากับ 100% แต่เมื่ออายุ 60 ก็จะลดลงเหลือประมาณ 50% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าเป็นคนที่แอคทีฟมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นเมื่อเราอายุมากขึ้น ถ้าไม่ต้องการให้อ้วนก็ต้องขยับร่างกายให้มากเพื่อให้เกิดการเผาผลาญที่มากขึ้นนั่นเอง”

 

 

เมื่อผู้สูงอายุมีปัญหาโภชนาการเกินหรืออ้วนเกินไป ก็จะพบว่ามีโรคที่เราเรียกกันว่า “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” NCDs ตามมา โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่อง ความดันโลหิตสูง ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว คุมได้บ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งโรคดันโลหิตสูงนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดเส้นเลือดสมองแตกได้สูง เมื่อเส้นเลือดในสมองแตกก็จะเกิดเป็นอัมพฤกษ์ –  อัมพาตได้ สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย และลูกหลานต้องสละทั้งเงินและเวลาในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้

นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 20 เป็น โรคเบาหวาน ซึ่งคนที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ ยกเว้นคนที่คุมน้ำตาลได้ไม่ดีก็จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ทำให้มีความดันสูงขึ้น เบาหวานไปที่ตา ทำให้มีปัญหาเรื่องการมองเห็น เบาหวานไปที่เท้า ไปทางระบบประสาท ถ้าเกิดเป็นแผล รักษาไม่ดี ดูแลไม่ดี ต้องตัดแขน ตัดขา รวมถึงยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคไตได้อีกด้วย เพราะเบาหวานเกิดจากการที่มีน้ำตาลมากเกิน และส่งผลให้ไตทำงานหนักในการที่ต้องขับของเสียออก

นอกจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแล้ว ยังมีเรื่องของ ไขมันในเลือดสูง ซึ่งเกิดได้ทั้งในคนอ้วนและคนผอม สาเหตุส่วนใหญ่มาจากอาหารที่มีไขมันมาก ถ้ามีไขมันในเลือดสูงก็จะมีความเสี่ยงในการที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น

 

ผู้สูงอายุกับปัญหากระดูกและฟัน

นอกจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแล้ว เรายังพบบ่อยว่าผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องของข้อเข่าเสื่อม ร่วมกับภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเกิดขึ้นได้มากโดยเฉพาะในผู้หญิง  เพราะในช่วงที่เรายังเป็นวัยสาวจะมีฮอร์โมนที่ทำให้การสูญเสียกระดูกน้อยลง ในขณะที่พอเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกมากขึ้น และบางครั้งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก็น้อยลงด้วย นั่นเพราะเราไม่ได้ใช้มันอย่างดีพอ ไม่ได้ออกกำลังกาย ก็จะทำให้เกิดปัญหาของเรื่องข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น โดยในผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 50 มีปัญหาเรื่องข้อและกระดูก

เนื่องจากในผู้สูงอายุนั้นมีการสูญเสียกระดูกมาก จึงควรทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ผู้สูงอายุถ้าหากยังดื่มนมได้ถือว่าดี แต่บางคนที่ดื่มไม่ได้ เพราะเกิดการท้องเสียจากการดื่มนมก็ควรจะหาแคลเซียมจากแหล่งอื่นแทน ปัจจุบันก็มีนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมสามารถทานได้ และแหล่งของแคลเซียมที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือปลาเล็กปลาน้อย ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก แต่ถ้าหากใครที่มีปัญหาเรื่องกระดูกพรุนก็ควรจะต้องได้รับยาเสริมด้วย

ส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป ซึ่งมีปัญหาเรื่องของการเคี้ยวและการกลืนอาหาร สิ่งที่ตามมาก็จะมีระบบของการย่อยซึ่งอาจจะมีกรดน้อยลง ทำให้มีการดูดซึมของพวกแร่ธาตุต่างๆ กลุ่มของพวกธาตุเหล็ก วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และพวกนี้ก็จะทำให้มีปัญหาโลหิตจาง ทำให้เหนื่อยง่าย เพลีย และทำให้เกิดปัญหาเรื่องฟันจึงไม่สามารถที่จะทานเนื้อสัตว์ได้ เพราะไม่อยากเคี้ยว ไม่อยากทาน ดังนั้นผู้สูงอายุรวมทั้งลูกหลานที่มีส่วนในการดูแลควรจะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองว่าเมื่อไหร่ควรปรับวิธีการปรุงอาหารให้มีความนิ่มขึ้นโดยวิธีต้ม นึ่ง หรือตุ๋น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุจะได้รับประทานอาหารทุกอย่างครบถ้วนทุกหมวดหมู่

 

Buy now