สง่างามยามสูงวัย

ภงด.91
ภงด.90 กับ ภงด.91 ต่างกันยังไง?
March 28, 2023
ไซยาไนด์
รู้จักไซยาไนด์ และ ยาต้านพิษ ช่วยชีวิตคนถูกพิษอย่างไร? ให้รอด!!
May 11, 2023
Aging Society

สง่างามยามสูงวัย

 

ตอนนี้เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) กันแล้ว การดูแลผู้สูงอายุควรจะเริ่มตั้งแต่วัยรุ่นที่จะต้องใส่ใจและเข้าใจผู้สูงวัยที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ก็คือรุ่นหลาน ส่วนรุ่นลูก นอกจากจะเป็นหน้าที่พลเมืองดีที่จะต้องตอบแทนบุญคุณ วางแผน ดูแลผู้สูงวัยแล้ว ยังจะต้องเตรียมตัวเองที่จะล่วงเลยไปเป็นผู้สูงวัยในอนาคตอย่างทรงคุณค่า งามสง่า ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง ไม่ควรจะมีโรคไม่ติดเชื้อ NCD’s เช่น โรคของความเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง โรคของหลอดเลือด โรคของกระดูกและข้อ โรคของหัวใจ ความเสื่อมถอยของสมองและความจำ เป็นต้น

จากการศึกษาและวิจัยอย่างต่อเนื่องพบว่า อาหารคือปัจจัยสำคัญที่สุดของชีวิต อาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อร่างกาย (จริงๆ แล้วก็คือมีประโยชน์ต่อเซลล์เล็กๆ ของทุกๆ อวัยวะ) มีคำกล่าวเป็นภาษาอังกฤษว่า You are what you eat คำกล่าวนี้เป็นคำกล่าวทางวิชาการ ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจและตรงกับความเป็นจริงอย่างยิ่งว่า “ท่านกินอย่างไร ท่านก็จะได้รับผลตามนั้น”

ส่วนเรื่องอาหารมีคำกล่าวถึงอาหารบำรุงอยู่ทั่วไป แต่เมื่อใดและเมื่ออายุเท่าไรควรจะกินอาหารอย่างไรจึงจะเหมาะสมนั้นเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ บ้างก็งดเนื้อสัตว์เสียโดยสิ้นเชิงที่เรียกว่าอาหารมังสวิรัติ บ้างก็นิยมเนื้อสัตว์ ทานสเต๊กชิ้นใหญ่ๆ อยู่เป็นประจำ บ้างก็เลือกรับประทานอาหารจานด่วน (Fast food) เพราะมีความจำเป็นเรื่องการบริหารเวลา และความจำเป็นในการใช้ชีวิตที่รีบเร่ง เหล่านี้จึงยังเป็นปัญหาอยู่ และเป็นปัญหาโดยตรงที่จะบั่นทอนสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ก็คือล่วงเลยเกิน 50 – 60 ปี

Aging Society

 

นักวิชาการจากสถาบันโภชนาการ แนะนำว่า การรับประทานแกงเลียง แกงส้ม แกงเหลือง แกงป่าและน้ำต้มยำแบบไทย เช่น ต้มยำกุ้ง มีคุณค่าทางอาหารและมีฤทธิ์ต่อต้านเซลล์มะเร็งในระดับห้องปฏิบัติการ นักวิชาการอื่นหลายท่านแนะนำให้ทานผักผลไม้ 7 สี ประกอบด้วย สีเหลืองของฟักทอง สีชมพูของสตรอเบอรี่ สีม่วงของบีทรูท สีเขียวซึ่งพบได้อยู่มากมาย สีน้ำตาลหรือสีดำจากองุ่นดำ สีส้มจากแครอท สีแดงจากมะเขือเทศ เหล่านี้ล้วนมีสารออกฤทธิ์ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อร่างกายในการ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบภายในร่างกายและดูเหมือนว่าจะสามารถช่วยชะลอวัยได้ด้วย

คนไทยส่วนใหญ่กินข้าว ปัจจุบันข้าวมีหลายสายพันธุ์ ซึ่งต่างก็อ้างสรรพคุณว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ แร่ธาตุ วิตามินต่างๆ และทุกคนก็ทานข้าวด้วยความเชื่อในสรรพคุณนั้น ความจริงแล้วยังต้องคำนึงถึงวัย สภาวะของร่างกายและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพื่อให้ข้าวมีคุณสมบัติตามที่คาดหมาย จึงควรจะได้เลือกสรรข้าวเพื่อให้เหมาะสมกับวัยและสภาวะ และเติมสมุนไพรเพื่อให้เติมเต็มในสิ่งที่ข้าวไม่สามารถให้ได้หมด

ข้าวกล้องงอก เป็นข้าวสำหรับผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยเริ่มเสื่อมถอย ตาฝ้าฟาง โรคที่เป็นคือ เบาหวาน ความดัน ไขมันสูง และสมองเริ่มเสื่อมโทรม ส่วนใหญ่จะระวังอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล จึงต้องใช้ข้าวกล้องงอก Oryza sativa L. มีสารกาบา สูง มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี ตลอดจนใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้ มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ดูดซึมน้ำตาลน้อยเพราะมีกากใยขัดขวางอีกทั้งดูดซับไขมันไม่ให้สะสม จึงน่าจะเป็นข้าวที่เหมาะสมจัดหาให้ผู้สูงอายุไว้รับประทาน

Aging Society

 

                   สมุนไพรใกล้ตัวหลายๆ อย่างล้วนมีประโยชน์กับผู้สูงวัย เช่น บัวบก ขมิ้นชัน ฟักข้าว พริก มะเขือเทศ ถั่วอินคา และได้ให้ความรู้เชิงลึกไว้ในบางอย่างบางตัวดังนี้

สมุนไพรบัวบก Centella Asiatica (L.) Urban เหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม เช่น ผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง หรือผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องใช้สมองมาก ผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงาน ใบบัวบกมีสารไกลโคโซด์ หลายชนิดที่ให้ผลต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งส่งผลให้การลดความเสื่อมของเซลล์อวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ บัวบกจะช่วยบำรุงสมอง ทั้งช่วยซ่อมแซมสมองส่วนที่ถูกทำลายไปแล้ว และช่วยป้องกันไม่ให้สมองส่วนที่ยังปกติดีอยู่นั้นถูกทำลายลงแถมยังช่วยให้ความทรงจำมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดความเครียดได้ด้วย ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานและยังช่วยควบคุมระดับแรงดันโลหิตให้เป็นปกติ จะทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือจะทานแบบปั่นผสมเป็นเครื่องดื่มก็ดี

ฟักข้าว Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng ฟักข้าวมีผลสีส้มแดงเมื่อสุกเนื้อของฟักข้าวเป็นสีส้มอ่อน ซึ่งมีเบต้าแคโรตีนสูง เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงจัดซึ่งมีสารไลโคปีนสูงมากกว่ามะเขือเทศประมาณ 70 เท่า และมีกรดไขมันประมาณ 22% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น กรดโอเลอิก และกรดไลโนเลอิก เบต้าแคโรตีนเป็นสารในกลุ่มคาโรตินอยด์ ที่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย ไลโคปีนมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากการเรียงตัวของโมเลกุลที่เปิดทำให้สามารถจับออกซิเจนได้ แต่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโมเลกุลและเซลล์ในร่างกาย ไลโคปีน ได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ว่า มีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร มีเครื่องดื่มผสมฟักข้าวหลายอย่างรสดีมีประโยชน์

 

 

Aging Society

ถั่วอินคา Plukenetia volubilis L น้ำมันดาวอินคา มีโอเมก้า 3 สูงถึง 45 – 63% ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ โดยกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคข้ออักเสบ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยไอโอดีน วิตามินเอ และวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์จากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลและยังช่วยต้านการ ช่วยลด ความเสี่ยงของโรคหัวใจ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และความดันโลหิต

Buy now