ภงด.90 กับ ภงด.91 ต่างกันยังไง?

MRI
MRI ราคาต่างกันไหม?
March 28, 2023
Aging Society
สง่างามยามสูงวัย
March 28, 2023
ภงด.91

ภงด.90 กับ ภงด.91 ต่างกันยังไง?

 

ผู้มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี เช่นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ (โดยประมาณ)  300,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นแสดงภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร

 

ภงด.91

 

 

ภงด.90

สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว อย่างเช่น มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องยื่นภาษีปีละ 1 ครั้ง

  • บุคคลที่ยังไม่จดทะเบียนสมรส มีเงินได้เกิน 120,000 บาท
  • บุคคลที่เป็นสามี ภรรยา ที่มีเงินได้จากทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 220,000 บาท

เงินได้ที่ว่านั้น ได้แก่ เงินที่ได้ จากการจ้างงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่ได้จากการที่นายจ้างให้อยู่บ้านเช่าโดยไม่เสียค่าเช่า  เงินที่ได้จากการที่นายจ้างจ่ายหนี้สินให้ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆก็ตามที่ได้จากการจ้างงาน เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวสาเหตุเพราะออกจากงานรวมทั้งเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่มีระยะเวลาการทํางานน้อยกว่า 5 ปี

 

หมายเหตุ
– กรณีที่ออกจากงานและนายจ้างจ่ายเงินให้ครั้งเดียวรวมทั้งเงินชดเชยเงิน ที่มีระยะเวลาการทํางาน 5 ปี ขึ้นไป สามารถเลือกนํามารวมกับภาษีกับเงินได้อื่นๆ
– กรณีที่ออกจากงานและนสยจ้างจ่ายเงินให้ครั้งเดียวแล้วเลือกที่จะไม่นําเงินที่ได้มารวมกับภาษีกับเงินได้อื่น ให้แสดงรายการในใบแนบและยื่นมาพร้อมกับ แบบ ภ.ง.ด.91 ด้วย

 

ภงด.91

ภงด.91

คือผู้มีรายได้หลายๆ ทาง เช่น เป็นลูกจ้างมีเงินเดือนประจำอยู่แล้ว และยังมีรายได้เสริมอย่างอื่นอีกด้วย เช่น เป็นแม่ค้าออนไลน์ด้วย หรือวิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมาต่างๆ เป็นต้น ต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้ง โดยรายได้ 6 เดือนแรก ยื่นภาษีครึ่งปี ภงด.94 (ภายใน กันยายน ของปีนั้นๆ) และยื่น ภงด.91 อีกทีภายใน มีนาคม ของปีถัดไป หรือยื่นทางออนไลน์ได้ภายในวันที่ 10 เมษายน ของปีถัดไป

ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากร หลายประเภทหรือประเภทเดียว (แต่มิใช่เงินได้ตาม มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว) ในปีภาษี 2559 ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้1. ผู้ที่เป็นโสด มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
2. ผู้ที่มีคู่สมรส มีเงินได้พึงประเมินไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสอง ฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท
3. กองมรดก ที่ยังมิได้แบ่งมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
5. คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
6. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจ ชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้เกิน 1,800,000 บาท หรือมีเงินได้เกิน 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาท ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rd.go.th

 

Buy now