“ข้าวน้ำตาลต่ำ” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ

“เลเซอร์” กับการรักษา “โรคผิวหนัง”
April 10, 2022
ภาวะร่างกายเหนื่อยล้า สาเหตุหลักของอาการหลงๆลืมๆที่ไม่ควรมองข้าม
April 10, 2022

จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อที่พบมากในประเทศไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ได้แก่ โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โรคเบาหวาน” ที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าหลายล้านคน ทั่วประเทศ และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกๆ ปี

“ข้าว” เป็นหนึ่งในอาหารหลักของคนไทย ซึ่งอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงาน เมื่อผ่านกระบวนการย่อยสลายของร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นกลูโคสหรือน้ำตาล และถูกดูดซึมเพื่อนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานของร่างกาย แต่การบริโภคข้าวควบคู่กับอาหารอื่นๆ ที่มากเกินไป อาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดโรคเบาหวานได้ การพัฒนาข้าวน้ำตาลต่ำ ที่สามารถช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคโดยไม่ต้องลดการบริโภคแป้งและน้ำตาล

“ข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low GI : Low Glycemic Index) โดยไม่ใช้สารเคมี ผ่านกระบวนการควบคุมอุณหภูมิซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างทางเคมีของข้าว โดยนำข้าวเจ้าไปผ่านกระบวนการให้ความร้อนในอุณหภูมิที่เหมาะสมด้วยวิธีการนึ่ง แล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็วด้วยการแช่เย็น และนำมาอบแห้งอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้โครงสร้างทางเคมีสามารถทนทานต่อน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้ถูกย่อยสลายช้า ร่างกายเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลและดูดซึมได้ช้าลง จึงทำให้รู้สึกอิ่มนานมากยิ่งขึ้น สามารถลดค่าดัชนีน้ำตาลของข้าวดังกล่าวได้ประมาณ 25% เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวเจ้าทั่วไป และเมื่อนำไปป่นให้เป็นแป้งข้าวเจ้า สามารถลดค่าดัชนีน้ำตาลได้ต่ำในระดับที่เทียบเท่ากับข้าวกล้องและข้าวไรซ์เบอรี่

ปกติแล้วข้าวที่เรารับประทานทั่วไป จะมีค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ที่ 85 ขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ลดค่าดัชนีน้ำตาลของข้าวเจ้า ลงมาอยู่ที่ระหว่าง 65 – 75 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มดัชนีน้ำตาลระดับกลาง ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของข้าวนั้นๆ ซึ่งสายพันธุ์ที่สามารถลดค่าดัชนีน้ำตาลลงมาได้สูงที่สุดได้แก่ ข้าวเสาไห้ และหากนำไปป่นเป็นแป้งข้าวเจ้าจะสามารถลดค่าดัชนีน้ำตาลลงมาอยู่ระหว่าง 50 – 55 ซึ่งจัดอยู่ในระดับต่ำ โดยผ่านกรรมวิธีที่ไม่ต้องใช้สารเคมี จึงทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีผลกระทบและสารตกค้างภายในร่างกาย

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีข้อจำกัดบางประการทำให้ไม่สามารถรับประทานข้าวกล้อง – ข้าวไรซ์เบอรี่ได้ เนื่องจากมีฟอสฟอรัสและแคลเซียมสูงเกินปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู่ป่วย ซึ่งส่งผลต่อระบบหน่วยไตที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น อาจก่อให้เกิดนิ่วในไต และเสี่ยงต่อภาวะไตวาย อันเป็นโรคแทรกซ้อนอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้น ข้าวเจ้าดัชนีน้ำตาลต่ำ จึงน่าจะตอบโจทย์กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณการบริโภคข้าวได้ด้วย

ปัจจุบัน ได้มีการต่อยอดนวัตกรรมทางการเกษตรดังกล่าวไปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ อาทิ แป้งข้าวเจ้าสำหรับใช้ประกอบอาหารและทำขนมเพื่อสุขภาพ ที่สามารถลดปริมาณน้ำตาล หรือข้าวกึ่งสำเร็จรูปน้ำตาลต่ำพร้อมรับประทาน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค ทั้งยังช่วยลดอัตราเสี่ยงการป่วยเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้อีกด้วย

 

Buy now