“เครื่องสำอางสำหรับผู้สูงอายุ” ใครว่าไม่สำคัญ?
October 19, 2022
“รังสีร่วมรักษา”
October 19, 2022

3 สัญญานเตือน เมื่อไหร่ต้องมาพบจิตแพทย์ ???

 

ผู้คนในยุคปัจจุบันใส่ใจและหันมาดูแลสุขภาพจิตกันมากขึ้น การมาพบจิตแพทย์จึงถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังคงมีทัศนคติไม่ดีต่อการมาพบจิตแพทย์ บางคนอายที่คนในครอบครัวป่วยเป็นโรคทางจิตเวช หรืออายเมื่อตนเองต้องเป็นผู้มาพบจิตแพทย์

ท่านทราบหรือไม่ว่า ผู้ที่ไปพบจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่า เป็นผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด แต่เขาเหล่านั้นอาจมาขอคำแนะนำ หรือปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ หรือปัญหานั้นๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การเรียนรู้และการทำงาน ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมาพบจิตแพทย์

ความเครียด (Stress) เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเพศทุกวัย ปัจจุบันนี้พบว่า คนส่วนใหญ่มักมีอาการเครียดสะสม อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่ตึงเครียด บางรายมีความกดดันมาก และมีความคาดหวังในชีวิตสูงซึ่งพอไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง  ทำให้มีอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน  ในบางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือ โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้ในอนาคต

Thoughtful stressed young man with a mess in his head

 

สัญญาณของอาการเครียดสะสม

เมื่อเรามีภาวะเครียดมาก ๆ จะทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลงเรื่อย ๆ ผู้ที่เริ่มสงสัยว่าตนเองมีอาการเครียดสะสมหรือไม่ สามารถสังเกตตนเองได้จากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่จะมีอาการดังนี้

  • พฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น นอนไม่หลับ ตื่นเร็วเกินไป หรือ ชอบตื่นกลางดึก
  • พฤติกรรมทางอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย เบื่อหน่ายชีวิต วิตกกังวล และหน้าตาเศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง
  • อาการเครียดที่แสดงออกทางกาย เช่น  หายใจถี่ขึ้น หรือ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว บางรายมีอาหารปวดหัวร่วม
  • ผู้ที่มีความเครียดสะสมมาก ๆ อาจมีอาการเครียดจนอยากตาย

 

เมื่อเราสังเกตเห็นว่าคนรอบข้างหรือตนเองเริ่มรู้สึกไม่สบายใจ ก็ควรมาพบจิตแพทย์ เพื่อประเมินอาการและรักษา โดยสัญญานเตือนสามารถออกเป็น 3 ด้านหลักๆ ดังนี้

 

  1. สัญญาณเตือนด้านอารมณ์

  • มีความกังวลทุกข์ใจ ซึมเศร้า ตลอดเวลา ไม่หายไป

  • หวาดระแวงในทุกๆ เรื่อง มีอารมณ์หงุดหงิดมากผิดปกติ

  • รู้สึกเครียดตลอดเวลา

  • มีความกระวนกระวายใจ และอยู่ไม่นิ่ง

  1. สัญญาณเตือนด้านความคิด มักพบว่าเนื้อหาความคิดผิดไปจากปกติ

  • ไม่มีสมาธิในการทำงานและการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงหลงลืมมากกว่าผิดปกติ

  • ตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาไม่ได้ในทุกๆ เรื่อง แม้เป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม

  • ได้ยินเสียงแว่วหรือเห็นภาพที่ผู้อื่นไม่เห็น

  • มีความคิดทำร้ายตนเอง และความคิดว่ามีคนมาปองร้าย

  • มีการใช้คำพูดหรือคิดหมกมุ่นในเรื่องอดีต มีความคิดที่เร็ว คิดหลายเรื่อง คิดฟุ้งซ่าน

  1. สัญญาณเตือนด้านพฤติกรรม หรือร่างกาย

  • ไม่สนใจดูแลตนเองเหมือนเมื่อก่อน ปล่อยตัวไม่สนใจสิ่งแวดล้อม แยกตัวไม่พบปะผู้คนเหมือนเคย

  • นอนไม่หลับหรืออาจนอนมากเกินปกติ

  • เบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารมากเกินปกติ

  • ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายโดยไม่ยั้งคิด

  • ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่มาก

 

เมื่อเรารู้สึกว่าตนเองหรือคนรอบข้างเปลี่ยนไปในด้านใดด้านหนึ่งดังที่กล่าวมา ก็ควรมาพบจิตแพทย์ เพื่อได้รับการดูแลจิตใจให้แข็งแรง เมื่อจิตใจดีแล้ว ร่างกายก็ดีตามไปด้วย อย่าลืมดูแลจิตใจทั้งคนรอบข้างและตนเองให้เข้มแข็งกันนะคะ

Smoking cigarette

 

Buy now