ภัยใกล้ตัว ….เสียงดังเกินไป ทำประสาทหูเสื่อมได้!

คอนแทคเลนส์
 “คอนแทคเลนส์” แก้ปัญหา หรือสร้างปัญหาให้กับสายตา กันแน่??
November 1, 2022
บำรุงราษฎร์
บำรุงราษฎร์ เปิด ‘ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร’ ผนึกความร่วมมือกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร
November 11, 2022
ประสาทหูเสื่อม

ภัยใกล้ตัว ….เสียงดังเกินไป ทำประสาทหูเสื่อมได้!

 

ปัจจุบัน “โรคประสาทหูเสื่อม” กำลังเป็นปัญหาในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งจากสถานการณ์ทั่วโลกพบว่า ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยินถึง 1,100 ล้านคน

องค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนว่า ไม่ควรฟังเพลงเสียงดังนานติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง และควรลดระดับความดังเสียงลงร้อยละ 60 ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคประสาทหูเสื่อม และลดโอกาสการสูญเสียการได้ยินลงไปได้

“โรคประสาทหูเสื่อม” ทำให้สูญเสียการได้ยินและการสื่อสาร เป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิต สร้างปัญหาให้กับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยและคนรอบข้าง จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การใช้หูฟังเพื่อการสื่อสาร ฟังเพลงหรือชมภาพยนตร์เป็นเวลานานๆ การเข้าผับ บาร์ หรือชมคอนเสิร์ต ที่มีเสียงดัง เสียงต่างๆ ที่เราต้องเจอในชีวิตประจำวัน ทั้งบนท้องถนน ที่ทำงาน เช่น ชาวไร่ชาวนาที่ใช้เครื่องจักรเสียงดัง ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรเสียงดัง นักดนตรี อาชีพทหาร – ตำรวจที่ต้องซ้อมยิงปืน หรือซ้อมภาคสนาม ต้องเผชิญกับเสียงที่ดังมากเพียงระยะเวลาสั้นๆ  ทั้งหมดนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคประสาทหูเสื่อมก่อนวัยอันควรได้

การได้ยินเสียงดังนั้น จะทำให้เซลล์ประสาทหูทำงานหนักมากขึ้น และจะเกิดภาวะเสื่อมถอย เกิดภาวะอักเสบ การแตกหักบาดเจ็บของเซลล์ประสาทหู อีกทั้งยังส่งผลให้เซลล์ที่สามารถทำงานได้ดีมีจำนวนลดลง โดยเสียงดังมักจะทำลายเซลล์หูที่รับเสียงสูงก่อน โดยระยะเริ่มแรกอาจมีอาการหูอื้อ มีเสียงดังรบกวนในหู และเริ่มพูดคุยสนทนากับผู้อื่นด้วยเสียงดังมากขึ้น

ประสาทหูเสื่อม

 

ถ้ามีอาการดังนี้ เข้าข่าย “โรคประสาทหูเสื่อม” จากเสียงดัง

  1. การสูญเสียการได้ยิน มีทั้งแบบการได้ยินบกพร่องชั่วคราว และการได้ยินบกพร่องแบบถาวร

  2. เสียงดังในหู (Tinnitus) เป็นเสียงดังรบกวน ก่อให้เกิดความรำคาญในหู อาจมีอาการเจ็บหูเมื่อเผชิญเสียงดังมาก อาการเสียงดังในหูเป็นสัญญาณเตือนก่อนที่จะเกิดการสูญเสียการได้ยินที่รุนแรงอย่างถาวร

  3. การสื่อสารลำบาก สื่อความหมายผิด โดยเฉพาะในที่มีเสียงรบกวน ผู้ป่วยมักพูดเสียงดังมากขึ้น ขอให้พูดซ้ำอีกครั้ง เพราะไม่ได้ยิน หรือไม่เข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน

  4. สูญเสียประสิทธิภาพการทรงตัว ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียการได้ยิน อาจมีการสูญเสียการทรงตัว เช่น เวียนศีรษะ เดินไม่มั่นคง ไม่มั่นใจ ความจำถดถอย ทำให้ไม่ค่อยอยากพบปะผู้คน อยากแยกตัวออกจากสังคม และเพื่อนฝูง

นอกจากเสียงดังที่มากเกินกำหนดแล้ว การฟังที่ปลอดภัย ยังอาจขึ้นกับระดับเสียง ความถี่ ระยะเวลาในการได้ยิน โดยในการทำงานกำหนดให้ความดังไม่เกิน 85 เดซิเบล ไม่นานเกิน 8 ชั่วโมง (ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง) และทุกความดังที่มากขึ้น ชั่วโมงการทำงานจะลดลงเหลือ 4 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น เสียงในระดับ 82 เดซิเบล ไม่ควรนานเกิน 16 ชั่วโมง, 85 เดซิเบล ไม่นานเกิน 8 ชั่วโมง และเสียงในระดับ 88 เดซิเบล ไม่ควรนานเกิน 4 ชั่วโมง เป็นต้น

ประสาทหูเสื่อม

 

วิธีป้องกันโรคประสาทหูเสื่อมจากการได้ยินเสียง

  1. ปรับลดความดังเสียงลง

  2. ใส่ที่อุดหูกันเสียง (ถ้าใส่อย่างถูกวิธีแล้วช่วยจะลดเสียงได้ 5 – 45 เดซิเบล ขึ้นอยู่กับชนิด) เหมาะสำหรับป้องกันเสียงในการแข่งขันหรือเล่นกีฬา ร้านอาหารที่มีดนตรี และบริเวณที่เสียงดังทั่วไป

  3. การตั้งความดังของเสียงในอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในระดับปลอดภัย โดยตั้งค่าระดับเสียงที่ฟังสบายในห้องเงียบไม่ให้เกิน 60% ของค่าความดังสูงสุด

  4. มีช่วงเวลาพักหู เช่น ในช่วงที่มีกิจกรรมที่ต้องได้เสียงดังเป็นเวลาต่อเนื่องนาน ควรมีการพักการฟังเป็นช่วงๆ เพื่อให้ประสาทหูไม่ล้า

  5. การฟังเสียงจากโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ ไม่ให้เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน การใช้หูฟังในที่ๆ สิ่งแวดล้อมมีเสียงรบกวนมาก เช่น เครื่องบิน รถไฟ ควรเลือกหูฟังที่กระชับหูพอดี

  6. หากมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่ามีอาการประสาทหูเสื่อมควรรีบพบแพทย์หูคอจมูก เพื่อทำการตรวจรักษา และรับคำแนะนำในการปฏิบัติอย่างถูกต้อง

 

ดังนั้นการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและไม่ประมาท จึงน่าจะเป็นหนทางในการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีที่สุด ถึงแม้จะเป็นเพียง “หู” แต่ก็เป็นอวัยวะที่สำคัญกับร่างกายเราเช่นกันค่ะ

ประสาทหูเสื่อม

Buy now