นิ้วชา..มือชา กับปัญหาออฟฟิศซินโดรม

อยู่อย่างไรกับโรคพาร์กินสัน
April 18, 2022
MIS-C (มิสซี) ภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยโควิดในเด็ก
April 22, 2022

สำหรับคนที่ทำงานในออฟฟิศซึ่งต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานด้วยท่าทางเดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ อาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไหนจะคนยุคนี้ที่ติดมือถือเป็นอย่างมาก ใช้เวลาเกือบทั้งวันในการเล่น Social Mediaโดยเฉพาะระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการชาที่นิ้วมือและชาที่ปลายมือปลายเท้า เป็นต้น

อาการชา สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ที่มีความผิดปกติของหมอนรองกระดูก ซึ่งบางคนอาจแค่ชาเฉพาะที่เป็นครั้งคราวไม่นานก็หาย แต่สำหรับบางคน อาการชาอาจเป็นมากขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติอื่นๆ ในร่างกายได้ ทั้งนี้ อาการชา เกิดจากส่วนประสาทมีการลดระดับการทำงานลง โดยเฉพาะส่วนปลายประสาท ปลายมือ ปลายเท้า เพราะข้อกระดูกบางส่วนบริเวณกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนตัวไปรบกวนการทำงานของรากประสาทแต่ละส่วน เช่น คนที่มักมีอาการชาที่มือ ก็จะเกิดจากถูกรบกวนการทำงานของเส้นประสาทในส่วนคอ เมื่อเกิดเช่นนี้เป็นเวลานานๆ ก็เป็นสาเหตุให้ส่วนประสาทบริเวณดังกล่าวลดระดับการทำงานลง จนในที่สุดความรู้สึกของปลายประสาทก็เริ่มเสื่อม หรือหมดสภาพลงไป เป็นเหตุให้การรับรู้ในบริเวณนั้นหมดลง หรือที่เรียกว่า “อาการชา” นั่นเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักพบที่บริเวณนิ้วมือ และเท้า หรืออาจพบได้ในส่วนปลายประสาททุกส่วน เช่น แขน และกล้ามเนื้อขา  เป็นต้น

 

แล้วเราจะมีวิธีรักษา หรือแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งการรักษาเองก็มีอยู่หลายรูปแบบ การทำกายภาพบำบัด การผ่าตัด หรือวิธีการแพทย์ทางเลือก เช่น ไคโรแพรคติก คือ จัดปรับข้อกระดูกด้วยมือ ทำให้กระดูกมีการเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น ไม่ไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทภายใน หรือส่วนของระบบประสาทที่อยู่ระหว่างข้อต่อกระดูก เพราะฉะนั้นถ้าข้อส่วนไหนที่ไปรบกวนการทำงานของวรากประสาทจนมีอาการชา เราก็จะต้องจัดปรับให้มันเป็นปกติ โดยแต่ละคนจะใช้ระยะเวลาแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งานของร่างกาย และเมื่อเราปรับให้กระดูกที่รบกวนส่วนประสาทเข้าที่เข้าทาง อาการชาก็จะลดลงตามไปด้วย วิธีนี้ถือเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ ต่างจากการรับประทานยาซึ่งเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ เพราะสุดท้ายแล้วอาการดังกล่าวก็อาจกลับมาเป็นได้อีก จนส่งผลกระทบต่อระบบอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายร่วมด้วย”

นอกจากการรักษาอาการชาที่ต้นเหตุดังที่กล่าวไปแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำก็คือหมั่นตรวจสอบตัวเอง โดยการ ก้ม เงย เอียงคอซ้าย – ขวา ถ้าไม่มีอาการตึงหรือเจ็บ ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าข้อกระดูกมีการเคลื่อนตัวดีอยู่ และควรปรับเปลี่ยนท่าทางในขณะทำงาน ทั้งการ ก้ม ยืน เดิน นั่ง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอยู่กับหน้าจอมือถือให้เหมาะสมด้วย

ไคโรแพรคติกไม่ใช่ตัวช่วยหรือที่พึ่งในยามที่ร่างกายมีความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เราควรได้รับการดูแลตรวจเช็คสุขภาพด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติกตั้งแต่อายุน้อยๆ เพื่อทำให้เรามีความสมบูรณ์พร้อมของโครงสร้างและสัญญาณประสาท รวมไปถึงการทำงานที่มีประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน และการแก้ไขกระดูกสันหลังคดในวัยเด็ก ซึ่งจะส่งผลให้เรามีสุขภาพที่ดีต่อไปในระยะยาว

Buy now