ทางเลือกสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม

การตั้งครรภ์
คิดจะรัก ต้องรู้จัก “ป้องกัน”
November 28, 2022
จิตแพทย์
ป้าหมอ..ลุงหมอ (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) ช่วยหนูได้!!
November 30, 2022
โรคข้อเข่าเสื่อม

ทางเลือกสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม

 

ปัจจุบันอายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลกส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 79 – 80 ปี ขณะเดียวกัน “โรคข้อเข่าเสื่อม” ก็พบได้เพิ่มมากขึ้นตามอายุ ทั้งยังพบว่ากลุ่มวัยกลางคนขึ้นไปก็มีโอกาสที่เสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน โดยมักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ผู้ป่วยมักมีอาการปวดในข้อเข่าบริเวณรอบๆ ลูกสะบ้าหรือในข้อพับเข่ามีเสียงดังเวลาขยับเคลื่อนไหวข้อ มีอาการฝืดหรือคล้ายข้อยึด กระดูกอ่อนของเข่ามีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนนั้นไม่สามารถรองรับน้ำหนัก เนื่องจากมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่าผิวของกระดูกอ่อนไม่เรียบ อาจจะมีการงอกของกระดูกข้อเข่าออกด้านข้างโดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรง กระดูกอ่อนจะบางมาก ช่องว่างบริเวณข้อเข่าจะมาชนกันเวลาขยับข้อ จะเกิดการเสียดสีในข้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถ ยืน เดิน นั่ง หรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

โรคข้อเข่าเสื่อม

เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วย เพราะการเผาผลาญที่ลดลง และเริ่มมีโครงสร้างภายในข้อไม่เป็นปกติ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในข้อดังนี้

– ผิวของข้อเข่า ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อ มีอาการติดขัด ฝืด หรือเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกัน

– การกระจายการรับน้ำหนักของกระดูกผิวข้อเริ่มผิดปกติ บางบริเวณมากขึ้น บางบริเวณน้อยลง ทำให้การรับน้ำหนักผิดปกติ มีอาการปวดเสียว

– เยื่อหุ้มข้อ ถูกระคายเคือง เกิดการอักเสบ และสร้างน้ำในข้อมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด บวม และข้ออุ่น

– กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า มีความแข็งแรงน้อยลง แรงกระแทกจึงเกิดกับผิวข้อมากขึ้น

– เอ็นยึดข้อ บางส่วนหย่อนยานขึ้น ทำให้ข้อแกว่งหรือหลวมมากขึ้น เพิ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้น

– แนวแกนขา เริ่มผิดปกติ จากน้ำหนักที่มากขึ้น ร่วมกับเอ็นยึดข้อที่หย่อนยานขึ้น ทำให้เข่าดูโก่ง หรือดูขาเก

– กระดูกรอบข้อเกิดการปรับตัว โดยสร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง กระดูกบริเวณข้อเข่า และรอบๆ ข้อบางลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มเดินน้อยลง

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการกินยาซึ่งผู้ป่วยส่วนมากมักเลือกใช้วิธีนี้เพราะคิดว่าสะดวกและหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งยาที่ซื้อเองนั้นส่วนใหญ่จะเป็นยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และบางครั้งก็เป็นยาสเตียรอยด์จริงๆ ที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น หากหมดฤทธิ์ยาก็จะกลับมาปวดซ้ำ ผู้ป่วยจึงต้องทานอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ เป็นเวลานาน สุดท้ายจะส่งผลเสียต่อระบบภายในร่างกายไม่ว่าจะเป็น ตับ ไต กระเพาะอาหาร และระบบฮอร์โมนทั้งร่างกาย จนหน้าตาบวมกลมเหมือนพระจันทร์ และวิธีสุดท้ายเป็นการรักษาที่ผู้ป่วยหลายคนจำใจต้องเลือกคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม แทนข้อเข่าที่เสื่อมแล้ว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน ทำให้ผู้ป่วยต่างแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ในการดูแลตนเอง

โรคข้อเข่าเสื่อม

แนวทางการรักษาแบบการแพทย์บูรณาการ

โรคข้อเข่าเสื่อม หากวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ แล้วดูแลรักษาอย่างถูกต้อง โดยแนวทางบูรณาการจะวางโปรแกรมการรักษาตามเฉพาะบุคคล อาทิ การปรับโครงสร้างเพื่อลดภาระต่อข้อเข่า สร้างความสมดุล การกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตบริเวณข้อ การลดน้ำหนัก ร่วมกับการบริหารเฉพาะทางเพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและระบบเอ็น การใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ หรือ Regenerative Medicine คือ การใช้สารสกัดจากเซลล์สร้างข้อ เข้าไปกระตุ้นการซ่อมแซมตนเองของข้อ แต่ต้องใช้เวลา ไม่เหมือนการผ่าตัด ที่เห็นผลทันที แต่ก็เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่าตัดไม่ได้ เนื่องจากร่างกายไม่แข็งแรง

 

Buy now