เสี่ยงรับสารพิษ “โลหะหนัก” แค่ไหน

วัคซีนไอกรน จำเป็นแค่ไหน?
January 13, 2022
 “โลหะหนัก” อันตรายที่คาดไม่ถึง
January 16, 2022

ร่างกายของเราได้รับสารพิษสะสมเข้าไปโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา โลหะหนักในร่างกายเกิดจากการสะสมของโลหะบางชนิดซึ่งหากมีการสะสมในปริมาณที่มากเกินจะส่งผลต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) และการเกิดมะเร็ง

สารพิษกลุ่มโลหะหนัก มีอะไรบ้าง?

  • อะลูมิเนียม
  • ตะกั่ว
  • ปรอท
  • สารหนู หรือแคดเมียม
  • นิกเกิล

อาการเตือนเมื่อโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย

  • ผื่นภูมิแพ้ ลมพิษ
  • หอบหืด หายใจติดขัด
  • นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ
  • หายใจไม่เต็มปอด
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
  • ปวดศีรษะบ่อย
  • นอนไม่หลับ สมาธิไม่ดี
  • ป่วยเรื้อรัง
  • ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน

ติดต่อจากทางไหนได้บ้าง?

  • ทางเดินหายใจ
  • สัมผัสทางผิวหนัง
  • การรับประทาน

ยิ่งคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมือง หรืออยู่ในที่ที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมย่อมมีความเสี่ยงในการรับสารพิษเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา หากเราสงสัยว่าอาจจะได้รับสารพิษหรือสะสมอยู่ในร่างกาย และมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ หรือสามารถขอตรวจการสะสมของโลหะหนักได้

 

การตรวจสารโลหะหนักที่อยู่ในร่างกายสามารถทำได้หลากหลายวิธีทั้งจาก

  • การเจาะเลือด
  • ตรวจปัสสาวะ
  • วิเคราะห์จากเหงื่อ

แต่วิธีที่นิยมที่สุดในหลายๆ โรงพยาบาล ก็คือการตรวจเลือด เพราะสามารถทำได้ง่ายและวิเคราะห์ผลได้อย่างแม่นยำ

Buy now