Uncategorized

November 11, 2022
บำรุงราษฎร์

บำรุงราษฎร์ เปิด ‘ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร’ ผนึกความร่วมมือกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร

บำรุงราษฎร์ เปิด ‘ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร’ ผนึกความร่วมมือกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมวินิจฉัยและรักษาทุกปัญหาเกี่ยวกับโรคการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารอย่างแม่นยำตรงจุด   เนื่องด้วยทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน ภาวะกลืนลำบาก ลำไส้แปรปรวน (IBS), อาการปวดท้องอาเจียนที่อาจมีสาเหตุจากการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กผิดปกติ, อาการท้องผูกเรื้อรัง จากการทำงานของลำไส้ใหญ่ หรือกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนักผิดปกติ หรือภาวะที่กลั้นอุจจาระไม่ได้ แต่ยังไม่ได้ไปพบแพทย์ หรืออาจไปตรวจวินิจฉัยแล้ว แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หรือรักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยโรคการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร มักจะมีอาการคล้ายคลึงกับหลายโรค […]
August 3, 2022

กรุงเทพมหานคร (27 กรกฎาคม 2565)- งานวิจัยฉบับใหม่ของบริษัทวิจัยด้านการตลาดระดับโลก Mintel (มินเทล) ชี้ ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 8 ใน 10 ราย ต่างประสบปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

กรุงเทพมหานคร (27 กรกฎาคม 2565)- งานวิจัยฉบับใหม่ของบริษัทวิจัยด้านการตลาดระดับโลก Mintel (มินเทล) ชี้ ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 8 ใน 10 ราย ต่างประสบปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา สามอันดับแรก คือ      ความเครียด (46%) นอนไม่หลับ (32%) และวิตกกังวล (28%)* สภาพจิตใจของคนไทยถดถอยลงจากผลกระทบที่ยืดเยื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 […]
June 17, 2022

แพทย์เผยข้อมูล ฝีดาษลิง ตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ชี้ตรวจพบเร็วลดความเสี่ยงแพร่ระบาดได้ พร้อมเผยแนวทางป้องกัน และรักษาโรค

กรุงเทพมหานคร, 14 มิถุนายน 2565 – บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จับมือศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดงานเสวนาเชิงวิชาการออนไลน์ โรช คอนเน็ค เดอะ ดอทส์ (Roche […]
June 6, 2022

ศูนย์ศึกษาสื่อและการสื่อสารอาเซียน คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย แนะ 4 แนวทางมัดใจให้กลับมาใช้บริการซ้ำ

ศูนย์ศึกษาสื่อและการสื่อสารอาเซียน คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย  1 มิถุนายน 2565 –ศูนย์ AMSAR ร่วมกับปริญญาโท สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด ม.หอการค้าไทย เผยผลวิจัย “คาเฟ่ฮอปเปอร์” “ถ่ายรูปสวยอย่างเดียวไม่พอ” แนะ 4 แนวทางมัดใจให้กลับมาใช้บริการซ้ำ ศูนย์ศึกษาสื่อและการสื่อสารอาเซียน (AMSAR) ร่วมกับหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลวิจัยเรื่องพฤติกรรมการสื่อสารและการกลับมาใช้บริการซ้ำจากการสื่อสารการตลาดของคาเฟ่ฮอปเปอร์  โดยมี ผศ.ดร.สุทธนิภา ศรีไสย์ […]
April 22, 2022

MIS-C (มิสซี) ภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยโควิดในเด็ก

ภาวะ MIS-C (มิสซี) Multisystem Inflammatory Syndrome in Children คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่พบในเด็กหลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยจะมีการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในร่างกายพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะอาการในระบบหัวใจ ปอด ตับ ไต สมอง ผิวหนัง ตา ระบบทางเดินหายใจ หรือระบบทางเดินอาหาร ภาวะ MIS-C (มิสซี) “เกิดจากอะไร” […]
January 15, 2022

 เสี่ยงรับสารพิษ “โลหะหนัก” แค่ไหน

ร่างกายของเราได้รับสารพิษสะสมเข้าไปโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา โลหะหนักในร่างกายเกิดจากการสะสมของโลหะบางชนิดซึ่งหากมีการสะสมในปริมาณที่มากเกินจะส่งผลต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) และการเกิดมะเร็ง สารพิษกลุ่มโลหะหนัก มีอะไรบ้าง? อะลูมิเนียม ตะกั่ว ปรอท สารหนู หรือแคดเมียม นิกเกิล อาการเตือนเมื่อโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย ผื่นภูมิแพ้ ลมพิษ หอบหืด หายใจติดขัด นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ หายใจไม่เต็มปอด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อ่อนแรง ปวดศีรษะบ่อย นอนไม่หลับ สมาธิไม่ดี […]
November 27, 2021

วิธีรักษาฮอร์โมนทดแทน…ต้องระวังอะไรบ้าง

หยุดให้ฮอร์โมนเพศทดแทนเมื่อใด? กรณีการให้ฮอร์โมนเพศหญิงโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 5 ปี เพื่อลดอาการข้างเคียงจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง ในบางรายอาจต้องใช้ไปตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ทำการรักษา และการวางแผนการรักษาของแพทย์ ส่วนของผู้ชายโดยส่วนใหญ่อาจต้องใช้ไปตลอดชีวิต เพราะธรรมชาติของร่างกายที่เสื่อมลงไปทุกวัน   ประเภทฮอร์โมนมีอะไรบ้าง? ฮอร์โมนทดแทนมีทั้งแบบสังเคราะห์ และสกัดจากพืชที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งในรูปแบบการสังเคราะห์มีข้อมูลทางการแพทย์ที่รับรองมากกว่าแบบธรรมชาติ แต่แน่นอนว่าฮอร์โมนที่สกัดจากธรรมชาติย่อมมีผลข้างเคียงต่ำกว่า ยกตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนเพศหญิง หากมีการใช้ไปนานๆ จำเป็นต้องมีการตรวจหามะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และการอุดตันของหลอดเลือด ข้อจำกัดในการให้ฮอร์โมน ผู้หญิงที่มีประวัติการเป็นมะเร็ง หรือคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก […]
November 27, 2021

รักษามะเร็งด้วยการผ่าจะยิ่งทำให้แพร่กระจาย….จริงหรือหลอก?

  เขาว่า                       :               การผ่าตัดมะเร็ง มักจะทำให้มะเร็งแพร่กระจาย ความจริง                :               เรื่องนี้ไม่จริงแต่อย่างใด การผ่าตัดไม่มีผลกับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง แต่เนื่องจากในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้านัก กว่าแพทย์จะตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งได้ โรคก็ดำเนินไปถึงระยะท้ายๆ ซึ่งเซลล์มะเร็งแพร่กระจายจากอวัยวะเริ่มต้นไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้ว แม้จะมีการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายเฉพาะที่ออกไป แต่เซลล์ที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นนั้นไม่ได้ถูกกำจัดไปด้วย จึงเกิดความเข้าใจผิดดังกล่าว แต่ปัจจุบันการรักษามะเร็งใช้หลายวิธีการร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดเนื้อร้าย และควบคุมเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นไปด้วยในเวลาเดียวกัน การหาความรู้เพื่อเตรียมตัวรับมือและดูแลสุขภาพนั้นถือเป็นเรื่องดี แต่ต้องไม่ลืมพูดคุย ปรึกษา หรือสอบถามข้อข้องใจกับแพทย์ที่ดูแลรักษาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อโอกาสในการรักษาที่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง
November 27, 2021

มะเร็งระยะสุดท้ายมักจะไม่หายขาด……จริงหรือหลอก?

เขาว่า                       :               เมื่อเป็นมะเร็งแล้วมักจะไม่หายขาดโดยเฉพาะระยะท้ายๆ ความจริง                :               ข้อนี้ไม่จริง เนื่องจากเทคโนโลยีในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก ประกอบกับความใส่ใจในสุขภาพ ทำให้มีการตรวจพบมะเร็งได้เร็วขึ้นกว่าสมัยก่อน ส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยที่ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตในระยะ 5 ปีสูงขึ้น แต่ถึงแม้จะตรวจพบโรคมะเร็งในระยะท้ายๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิม ประกอบกับความเข้าใจในเรื่องของชีวโมเลกุลก็ช่วยให้การรักษาโรคมะเร็งระยะท้ายๆ มีประสิทธิภาพดีได้ โดยที่ยังอาจหวังผลหายขาดได้เช่นกัน
Buy now