โรคโจ๊กเกอร์….มันคืออะไร?

DNA สำคัญ..รู้ผล รู้คนฆ่า
March 5, 2020
ลดโอกาสเสี่ยง “หัวใจพิการแต่กำเนิด”
March 5, 2020

หากใครเคยดูหนังเรื่อง “Joker” ที่ติดอันดับหนังทำเงินสูงในหลายๆ ประเทศ คงเคยเห็นบทบาทของโจ๊กเกอร์ที่มีที่มาจากผู้ป่วยที่มีอาการ “Pseudobulbar affect” หรือ PBA หรือ “ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้”

Pseudobulbar affect สู-โด-บัล-บาร์-แอฟ-เฟ็ค (PBA) ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้

การร้องไห้ การหัวเราะ เป็นเรื่องปกติของชีวิตคน แต่บางครั้งการหัวเราะและการร้องไห้ ก็อาจเป็นความผิดปกติ ได้เหมือนกัน

อาการของผู้ป่วย PBA

1.ร้องไห้ หรือหัวเราะรุนแรง ควบคุมไม่ได้

2.การร้องไห้หรือหัวเราะนั้น ไม่เข้ากับสถานการณ์

3.การแสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์

4.อาการเป็นอย่างยาวนานเกินกว่าที่คาดไว้

5.มีอาการได้หลายครั้งต่อวัน

สาเหตุที่พบ เชื่อว่า PBA เกิดจากปัญหาที่สมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) พบได้ในโรคต่างๆ

  • โรคหลอดเลือด
  • โรคความจำเสื่อมและโรคพาร์กินสัน
  • เนื้องอกในสมองบางชนิด
  • Multiple Sclerosis โรคปลอกประสาทเสื่อม

วิธีรักษา

1.พบแพทย์และอธิบายอาการ เพื่อแยกระหว่าง PBA กับโรคทางอารมณ์ชนิดอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพลาร์

2.ทำไดอารี่บันทึกช่วงเวลาที่มีอาการ

3.รักษาด้วยวิธีการใช้ยา

วิธีดูแลตนเองหรือคนที่มีอาการ

  • พูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการนี้กับครอบครัว เพื่อลดความตื่นตระหนกเมื่อมีอาการ
  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบถสามารถลดอาการได้ เช่น จากลุกเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน
  • หายใจเข้า-ออก ช้าๆ
  • ฝึกการผ่อนคลายทุกๆ วัน

 

ควรตรวจสอบสภาพจิตใจตัวเองและคนใกล้ชิด ถ้าพบความผิดปกติควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วนะคะ

Buy now