ทำไมต้อง “ถอนฟัน” เมื่อรักษามะเร็งลำคอและศีรษะ

Probiotic ดียังไง
January 25, 2022
อาหารที่อาจปนเปื้อนสารพิษ
January 26, 2022

วิธีรักษามะเร็งบริเวณลำคอและศีรษะด้วยการฉายรังสี นอกจากจะไปทำลายเซลล์เนื้อร้ายของเจ้ามะเร็งแล้ว ยังส่งผลต่อเซลล์ปกติให้ทำงานผิดเพี้ยนไป โดยเฉพาะอาการข้างเคียงบริเวณช่องปาก ตั้งแต่เยื่อบุช่องปากอักเสบ แดง เป็นแผล ต่อมน้ำลายสร้างน้ำลายได้น้อยลง ส่งผลให้ช่องปากเกิดความเป็นกรด ทำให้ฟันผุกร่อนได้ ดังนั้นการถอนฟันถือว่าหนึ่งในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องและจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษามะเร็งด้วย

ข้อปฏิบัติของผู้ป่วยก่อนการฉายรังสีมีดังนี้

  1. ถอนฟันที่มีการพยากรณ์โรคไม่ดี ผู้ป่วยทำความสะอาดได้ลำบาก มีโอกาสจะถูกถอนหรือก่อให้เกิดการติดเชื้อในอนาคต เช่น ฟันที่เหลือแต่ราก ฟันผุมากบูรณะยาก ฟันที่เป็นโรคปริทันต์ ฟันซ้อนเก
  2. ผ่าตัดปุ่มกระดูกเพื่อลดโอกาสเกิดแผลกระดูกโผล่และภาวะกระดูกตายจากรังสี โดยวันสุดท้ายที่เสร็จสิ้นการถอนฟันและผ่าตัดในช่องปาก แนะนำให้ห่างจากวันเริ่มได้รังสีรักษาอย่างน้อยประมาณ 14 – 21 วัน เพื่อให้เกิดการหายของแผลในระยะแรกhttps://www.healthchannel.co.th/บทความ/แม่และเด็ก/ทำไมต้อง-ถอนฟัน-เมื่อร/
  3. ขูดหินน้ำลาย
  4. บูรณะฟัน ได้แก่ การอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันที่ไม่ใช่โลหะ ไม่สะท้อนรังสี
  5. กรอลบคมฟันที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก

 

ข้อปฏิบัติระหว่างการรักษา

  1. แปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน ด้วยแปรงสีฟันชนิดขนอ่อนนุ่ม ปลายขนแปรงมน ร่วมกับยาสีฟันฟลูออไรด์ หรือยาสีฟันสำหรับเด็ก หากไม่มีฟันให้ใช้ผ้าสะอาดนุ่มๆ ชุบน้ำอุ่นเช็ดสันเหงือกให้ทั่ว
  2. แนะนำให้ผู้ป่วยจิบน้ำตลอดวัน และบ้วนปากบ่อยๆ ทุก 2 – 4 ชั่วโมง ด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น น้ำเกลือ หรือน้ำเกลือผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงฟูชนิดไม่มีแป้ง 1 ช้อนชา + น้ำ 1 ลิตร + เกลือแกง 1 ช้อนชา) เป็นต้น
  3. รับประทานอาหารอ่อนนิ่ม หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารหวานที่ก่อให้เกิดฟันผุ อาหารหยาบแข็ง หรือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในปากได้
  4. งดใส่ฟันปลอมขณะฉายรังสี
  5. แนะนำใช้เจลฟลูออไรด์ (Neutral fluoride) ร่วมกับถาดฟันยางเฉพาะผู้ป่วย ที่ทำโดยทันตแพทย์ วันละ 1 – 2 ครั้งๆ ละ 10 นาที ทุกวัน โดยสามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ก่อนได้รังสีรักษา
  6. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจประเมินในช่องปาก และจัดการกับผลข้างเคียงจากการฉายรังสี สัปดาห์ละ 1 ครั้งในช่วงระหว่างได้รับรังสีรักษา
  7. สามารถใช้น้ำลายเทียมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลซูโครสเพื่อกระตุ้นน้ำลาย
  8. ฝึกการอ้าปากด้วยวิธีง่ายๆ เช่น ใช้นิ้วโป้งดันฟันบน พร้อมกับนิ้วชี้ดันฟันล่าง หรืออมท่อหรือจุกก๊อกขนาดใหญ่ครั้งละ 1-2 นาที ทำบ่อยๆอย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง ให้ฝึกตลอดระยะการให้รังสีรักษา ทำต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  9. นวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยว บริหารกล้ามเนื้อบริเวณช่องปากและคอ โดยการอ้าปากกว้างๆ แล้วหุบปาก ฉีกยิ้มเต็มที่ ก้มและเงยศีรษะเต็มที่ หันหน้าไปซ้ายและขวา เอียงคอไปซ้ายและขวาเต็มที่ ทำช้าๆ ได้บ่อยครั้ง
  10. เลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ยาสูบ และเคี้ยวหมาก

Dental equipment holding an extracted tooth

หลังจากได้รับรังสีรักษาเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจติดตามอาการและประเมินผลการรักษาเป็นระยะๆ ผู้ป่วยควรมารับการตรวจตามกำหนดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด หากผู้ป่วยละเลยคำแนะนำของแพทย์ ไม่มาติดตามการรักษา อาจทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังตามมาอย่างมาก ยากแก่การรักษา และสิ่งสำคัญที่แนะนำคือผู้ป่วยควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น มีก้อนเนื้อเกิดขึ้น มีแผลเรื้อรังไม่หาย หรือมีแผลกระดูกโผล่ในช่องปาก หากมีควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

Buy now