เลือกอาหารสำเร็จรูปอย่างฉลาด

สู้มะเร็ง…
April 10, 2022
“โรคหูเสื่อมในวัยรุ่น-วัยทำงาน เด็กสายตื้ด… ระวังมีความเสี่ยงสูง”
April 10, 2022

สำหรับในปัจจุบันที่คนเมืองมีไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ และต้องการความสะดวกรวดเร็ว อาหารสำเร็จรูปจึงเป็นตัวเลือกที่เป็นที่นิยมและเข้ามาตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนี้ แต่คำถามมักเกิดขึ้นว่าเราควรจะเลือกรับประทานอาหารสำเร็จรูปอย่างไร ให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

เทคนิคง่ายๆ ในการเลือกรับประทานอาหารสำเร็จรูป ดังนี้

  1. สังเกต “เครื่องหมาย อย.” ที่แสดงถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ ว่าสามารถรับประทานได้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ผู้บริโภคเองก็ต้องระมัดระวังหากพบว่าอาหารบางอย่างกล่าวอ้างสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง เพราะเครื่องหมาย อย. ไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้บริโภคจะได้รับสรรพคุณตามที่กล่าวอ้างไว้ทุกประการ
  2. อ่านฉลากโภชนาการ และ/หรือฉลากโภชนาการ หวาน มัน เค็มเพื่อดูข้อมูลโภชนาการทั้งพลังงาน ไขมัน โซเดียม และน้ำตาล ว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ รวมทั้งดูข้อมูลเรื่องส่วนประกอบหรือวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต เพื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีโภชนาการเหมาะสมซึ่งข้อมูลโภชนาการหลักๆ ที่ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญและพึงระวังไม่ให้เกินปริมาณที่กำหนดในแต่ละวัน ได้แก่
พลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี/วัน (สำหรับผู้ที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป – Thai RDI)
โซเดียม ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน
ไขมัน ไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน
น้ำตาล ไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน

 

  1. มองการบริโภคในภาพรวมให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน และมีภาวะสมดุล ปัจจุบันคนไทยกินผักและผลไม้น้อยเมื่อเทียบอัตราส่วนในแต่ละวัน และถึงแม้ว่าเทรนด์สุขภาพกำลังมาแรง ก็ไม่ควรงดไขมันโดยสิ้นเชิง เพราะวิตามินบางชนิด เช่น A, D, E, K ต้องใช้ไขมันในการละลายและดูดซึม ไขมันจึงยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ
  2. ดูวันหมดอายุ โดยทั่วไปจะมีติดไว้ที่ตัวผลิตภัณฑ์ที่กล่อง ที่ฝา หากพบว่าหมดอายุแล้ว ก็ไม่ควรเก็บไว้บริโภคเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดการรับประทานเข้าไป หรือหากไม่พบวันหมดอายุก็ควรเลี่ยงที่จะซื้อ หรือรับประทาน

 

 การเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปควรเลือก    ดังนี้

  • ไม่ควรมีการปลอม ปน สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย หรือเน่าเสีย ที่ไม่เหมาะสมต่อการรับประทาน
  • เลือกซื้อจากผู้ที่ไว้ใจได้ว่าอาหารนั้นสะอาดปลอดภัย
  • เลือกอาหารที่บรรจุในภาชนะที่ห่อเรียบร้อยสะดวกในการขนส่งนำติดตัวและง่ายในการรับประทาน
  • เมื่อเปิดกระป๋องแล้วอาหารนั้นมีกลิ่นรสไม่ผิดจากที่ควรจะเป็น ไม่เป็นฟอง เน่าเสีย หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่อันตรายต่อการบริโภค

โดยทั่วไปอาหารที่ใช้ในครอบครัว  เช่น  อาหารสด  อาหารแห้ง  อาหารสำเร็จรูปและอาหารกระป๋องหรืออาหารบรรจุขวด  ซึ่งควรเลือกซื้อให้ถูกต้อง  ดังนี้

 – การเลือกซื้อเนื้อสัตว์   ควรเลือกซื้อจากร้านที่ผ่านการตรวจจากสัตว์แพทย์โรงฆ่าเชื้อสัตว์ที่ตรวจสอบสัตว์นั้นก่อนก่อนฆ่าว่าไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคที่สามารถแพร่เชื้อมาสู่ผู้บริโภคได้  ไม่ควรเลือกซื้อตามข้างถนนหรือแผงลอยในตลาดที่ไม่ได้มาตรฐานปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าบางแห่ง  จะแล่ส่วนต่างๆของเนื้อสัตว์จำหน่ายเพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำไปประกอบอาหารตามความต้องการของผู้บริโภค

การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ ควรเลือกดังนี้

  • เนื้อวัวมีสีแดง  มันสีเหลือง  เส้นเนื้อเล็กละเอียด  นุ่มกว่าเนื้อควาย
  • เนื้อควายมีสีแดง  มันสีขาว  เส้นเนื้อหยาบ   ราคาถูกกว่าเนื้อวัว
  • เนื้อหมูมีสีชมพู  มันสีขาว ถ้าเป็นสามชั้น  มันระหว่างหนังกับเนื้อจะต้องไม่หนามาก
  • ไก่ควรเลือกไก่อ่อนเนื้อจะนุ่ม  หนังไม่เหนียว  ไม่มีรอยเขียวช้ำตามคอหรือท้องและบริเวณอื่นๆ
  • เป็ดถ้าเป็ดแก่จะมีกลิ่นสาบ  เนื้อเหนียว  สดไม่มีรอยช้ำ
  • กุ้ง     หัวติดกับลำตัว  ไม่หลุดออกจากกัน  เปลือกสีเขียวแกมน้ำเงิน  หางไม่แดงหรือมีรอยคล้ำ  ไม่มีกลิ่นเหม็น
  • ปลา     ตาใสเหงือกแดง  เนื้อไม่เละ  บริเวณท้องไม่ผุ
  • หอยเลือกที่ยังไม่ตาย  เปลือกหอยอ้าหุบเองได้

 

  • การเลือกซื้อผักควรเลือกที่ใหม่  สด  สะอาด  มีคุณค่าทางโภชนาการสูงการเลือกซื้อผักแต่ละประเภท  ควรพิจารนาดังนี้

1.ผักรับประทานใบ  ควรเลือกที่สดใหม่  ไม่เหี่ยวช้ำ  ลำต้นอวบน้ำ  ใบอาจมีรอยแมลงกัดแทะบ้างแสดงว่าปลอดภัยจากสารเคมี

2.ผักรับประทานหัว  ควรเลือกหัวหนักเนื้อแน่น  น้ำหนักเหมาะสมกับขนาด  ถ้าหัวใหญ่น้ำหนักเบาเนื้อจะไม่แน่น

3.ผักรับประทานผล  เอกตามลักษณะเฉพาะของผักนั้น  เช่น  ฟักทอง  ผลหนักเนื้อแน่นสีเหลืองงอมเขียว  ผิวขรุขระ  แตงร้าน  แตงกวา  เลือกผิวสีเขียวริ้วขาว  ผิวตึง  ถ้าผิวเหลืองแสดงว่าเป็นแตงเก่าและเริ่มแก่  เป็นต้น

 – การเลือกซื้ออาหารแห้ง  ถ้าซื้อจำนวนมาก  ราคาจะถูกกว่าการซื้อปลีก   อาหารแห้งที่ต้องระมัดระวัง  คือ  อาหารที่ขึ้นราโดยเฉพาะราสีดำ  พบในหอม  กระเทียม  ถั่วเมล็ดแห้ง  เพราะราชนิดนี้ทนต่อความร้อนที่ใช้ในการหุงต้ม  ถ้าเรารับประทานสู่ร่างกาย  อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

 

 – การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง    ในการเอกซื้ออาการกระป๋อง  ควรสังเกตดังนี้

1.ฉลาก  ต้องมีรายละเอียด  ชื่อ   เลขทะเบียนอาหาร  สถานที่ตั้งของผู้ผลิต  วัน  เดือน  ปี ที่ผลิต  รหัสได้จดทะเบียนไว้แล้วต่อกระทรวงสาธารณสุข  น้ำหนักสุทธิหรือปริมาณสุทธิ  ชนิดและปริมารของของวัตถุที่เจือปนในอาหารที่ไม่ใช่เป็นส่วนประกอบอันใดจากธรรมชาติ

2.ลักษณะตัวกระป๋อง  ต้องเรียบทั้งฝาและก้น  ไม่มีรอยบุบหรือโป่งพอง  เนื่องจากอากาศที่อยู่ภายใน  ไม่มีรอยรั่วหรือเป็นสนิม  โดยเฉพาะที่รอยตะเข็บ

 

  • การเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปและอาหารพร้อมปรุง

อาหารสำเร็จรูปหมายถึง  อาหารที่ผู้ขายปรุงไว้เรียบร้อยแล้ว  ผู้ซื้อสามารถนำไปอุ่นหรือรับประทานได้ทันที  อาหารสำเร็จรูปนี้รวมถึงอาหารที่ผู้บริโภคสั่งให้ประกอบหรือปรุงใหม่   การเลือกซื้อควรสังเกตสถานที่ขายสะอาด  ภาชนะใส่อาหารมีสิ่งปกปิด  กันแมลง  และฝุ่นละออง  ผู้ขายแต่งกายสะอาดถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร

อาหารพร้อมปรุง   หมายถึง  อาหารที่ผู้ขายจัดเตรียมวัตถุดิบ   พร้อมเครื่องปรุงไว้เป็นชุดผู้บริโภคสามารถซื้อแล้วนำไปประกอบเองที่บ้าน ควรสังเกตวัน  เดือน ปี  ที่ผลิตหรือวันหมดอายุเพราะลักษณะของอาหารยังไม่ได้ผ่านความร้อน  มีโอกาสบูดเสียหรือเสื่อมคุณภาพได้มากที่สุด

 

Buy now