“ฮอร์โมน” สำคัญยังไง

วิธีรักษาฮอร์โมนทดแทน…ต้องระวังอะไรบ้าง
November 27, 2021
เคล็ดลับเพิ่มความสูงง่ายๆ ด้วยตนเอง
November 29, 2021

การเฝ้าสังเกตร่างกายก็เหมือนการเรียนรู้ธรรมะ ทุกอย่างต้องมีความสมดุล ไม่มากไปไม่น้อยไป หรือการเดินทางสายกลางนั่นเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปด้วยวัยที่มากขึ้น ตัวควบคุมความสมดุลกลับทำงานลดน้อยลง จึงเป็นเหตุและปัจจัยส่งผลให้ความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกายแย่ลง เจ้าตัวควบคุมความสมดุลที่ว่านี้คือ “ฮอร์โมน”

ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รังไข่ อัณฑะ ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมกลไกการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยฮอร์โมนแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกัน กล่าวคือ ฮอร์โมนไทรอยด์ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ ระบบการทำงานของสมอง ดูแลระบบการเผาผลาญ เห็นได้จากผู้ป่วยบางรายมีน้ำหนักขึ้นมากอย่างรวดเร็ว ก็เป็นผลมาจากฮอร์โมนไทรอยด์ไปส่งเสริมระบบการเผาผลาญได้น้อยลงนั่นเอง ฮอร์โมนอินซูลินในตับอ่อน ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือที่รังไข่จะมีการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้มีรูปร่างความเป็นผู้หญิง  เช่น มีหน้าอก เอวคอด มีสะโพก ผิวพรรณเต่งตึงดูมีน้ำมีนวล ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนช่วงที่เด็กหญิงเริ่มมีประจำเดือน นั่นเป็นสัญญาณว่าระบบสืบพันธุ์ได้เจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนฮอร์โมนเพศชายที่ผลิตจากอัญฑะ ก็ส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อให้มีรูปร่างเป็นผู้ชาย มีหนวดเครา และเส้นเสียงใหญ่

Buy now