ยุคเด็กเรียนรู้ในห้อง เสี่ยงทักษะชีวิตไม่พร้อมรับมือสิ่งรอบด้าน

“ปวดประจำเดือนเรื้อรัง” อาจไม่ใช่เรื่องปกติ
March 11, 2022
โรคตาที่พบบ่อยในคนไทย
March 11, 2022

ทุกวันนี้ สังคม New Normal ทำให้เด็กๆ มีเวลาเล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งน้อยลง มีการศึกษาพบว่า เด็กๆ ใช้เวลาเล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งลดลงถึง 71% เมื่อเทียบกับเด็กในเจเนอเรชั่นก่อน สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของพ่อแม่ในยุคนี้ที่ใช้ชีวิตกว่า 90% ไปกับ Social Media ไม่เว้นแม้แต่การเลี้ยงลูกที่เลือกสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาเป็นพี่เลี้ยง เพราะมีเวลาจำกัด จึงต้องหาวิธีที่สะดวกและอยู่ในความควบคุม หรือบางท่านอาจคิดว่าจะช่วยเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้ลูกน้อย เด็กๆ จึงมักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่แต่กับหน้าจอ ซึ่งการปล่อยให้เด็กเล่นแต่คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรืออยู่กับจอเป็นเวลา นานๆ ตั้งแต่เล็กๆ กลับกลายเป็นการปิดกั้นโอกาสพัฒนาทักษะสำคัญๆ จนทำให้มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ

“การใช้เทคโนโลยีเป็นผู้ช่วยในการเลี้ยงลูก เพื่อหวังส่งเสริมให้ลูกเป็นเด็กเก่งและฉลาดเป็นค่านิยมที่เข้าใจผิด เพราะความฉลาดหรือสติปัญญาเป็นสิ่งที่เกิดจากกระบวนการการเรียนรู้ ซึ่งต้องอาศัยหลายปัจจัยร่วม (multifactorial factors) ในการสร้างให้เกิดขึ้น เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเปิดโลกให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่ก็จำเป็นต้องอยู่ภายใต้
การกำกับดูแลและคำแนะนำของพ่อแม่อย่างใกล้ชิด” “พ่อแม่ต้องใส่ใจ และตระหนักถึงผลเสียจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์รอบตัวลูก เพราะการติดสื่อเป็นไปได้ง่าย โดยเฉพาะช่วง 2 ขวบปีแรกที่ไม่ควรให้เด็กได้เรียนรู้จากหน้าจอ การใช้เทคโนโลยีเลี้ยงลูกและปล่อยให้ลูกท่องโลกผ่านจอเป็นเวลานานๆ เพียงลำพัง เป็นความเสี่ยงอย่างมากต่อการพัฒนาอย่างรอบด้านของเด็ก ทำให้เด็กไม่ได้รับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะสำคัญในชีวิต”

การใช้ชีวิตติดจออยู่แต่ในห้อง ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสำคัญในหลายๆ ด้านของเด็ก ได้แก่ ทักษะการเคลื่อนไหว
การปรับตัวเข้ากับสังคมรอบข้าง การคิดและการพัฒนาสติปัญญา การควบคุมอารมณ์ ขาดทักษะในการใช้ภาษาและการสื่อสารแบบสองทาง ด้อยทักษะด้านการเข้าสังคม การปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ รอบตัว
ทักษะด้านจริยธรรม ทักษะด้านการสร้างสรรค์ รวมถึงผลกระทบในด้านอื่น เช่น ภาวะสายตาสั้นเทียม ความแข็งแรง
ของร่างกายลดลง ภาวะโรคอ้วน หรือโรคภูมิแพ้ เป็นต้น

 

พ่อแม่อาจภาคภูมิใจว่า ลูกสามารถเรียนรู้ผ่านการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างคล่องแคล่ว โดยลืมไปว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กขาดความสนใจในการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง การสื่อสารผ่านจอทุกประเภทเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากในปัจจุบัน ดังนั้น พ่อแม่จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะช่วยปลดล็อคแม่กุญแจที่มีชื่อว่า “พัฒนาการเด็ก” ให้พัฒนาไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยการกำกับและควบคุมความเหมาะสมของการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีของลูกให้เป็นไปอย่างยืดหยุ่นและมีความสมดุลในตัวเอง ให้ความสำคัญกับการเลือกสื่อที่ผลิตมาสำหรับเด็ก ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย  ให้เวลาและคำแนะนำอยู่ข้างๆ โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงในแต่ละวัน เพื่อจะได้เหลือเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่มีประโยชน์บ้าง”

“การละสายตาจากจอทำออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านผ่านการเล่น จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กๆ ได้ดียิ่งขึ้น การหยิบจับ ห้อยโหน วิ่งเล่นกับเพื่อนๆ นอกจากจะได้ความสนุกตามวัยแล้ว กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ยังได้รับการกระตุ้นให้แข็งแรง การพูดคุยแลกเปลี่ยนทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ จะทำให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกัน การรู้จักแบ่งปัน การแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบความคิด ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของการปรับตัวเข้าสังคมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เด็กได้ค้นพบตัวเอง ได้ซึมซับทักษะต่างๆ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเอง และได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านอย่างแท้จริง

Buy now