หุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วย

“บร็อคโคลี่” ต้านมะเร็ง สู้อัลไซเมอร์
January 2, 2022
สมุนไพรไทยของวิเศษในครัวเรือน
January 2, 2022

ด้วยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่มีความก้าวล้ำขึ้นเรื่อยๆ เราเห็นตัวช่วยเจ๋งๆ ที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตผู้คนอยู่ไม่ขาดสาย อย่างหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ที่เกิดจากความร่วมมือของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูกับนักสร้างหุ่นยนต์ เพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหว สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นบ่อเกิดสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความบกพร่องทางร่างกาย เป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต โดยผู้ป่วยจะมีปัญหาการรับรู้ความรู้สึกของร่างกาย ที่มีอาการอ่อนแรงลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถลุกขึ้นยืน เดินเหินไปมา หรือใช้มือใช้แขนได้ ซึ่งการจะทำให้แขนคนไข้กลับมาขยับได้ต้องอาศัยการฟื้นฟูสมรรถภาพ วิธีการที่ได้ผลดีที่สุดคือ ฝึกการเคลื่อนไหวโดยการทำซ้ำ (High repetition) ตลอดจนการฟื้นฟูการรับรู้ความรู้สึก (sensory training) ทว่าการใช้มนุษย์เป็นผู้ช่วยทำการฝึกมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำการฝึกอันซ้ำซากได้มากพอ

สมัยก่อนเราจะเห็นว่าผู้ป่วยอีกมากที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างมีคุณภาพมากพอ และข้อจำกัดของผู้ช่วยฝึก ประกอบกับทั่วโลกมีแนวโน้มเรื่องการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ จึงเกิดเป็นไอเดียที่อยากสร้างหุ่นยนต์ขึ้น

จากนั้นเป็นต้นมาได้พัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อมาเป็นผู้ช่วยของนักกายภาพในการฝึกหัดคนไข้ที่ขยับแขนไม่ได้เลยจนถึงเกือบจะเป็นปกติ โดยทำการทดสอบกับผู้ที่มีอาการอ่อนแรงมานานกว่า 6 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่แขนจะกลับมาดีขึ้นได้ยาก พบว่าคนไข้มีค่าคะแนนการเคลื่อนไหวแขนเพิ่มขึ้น

เพื่อให้ผู้ที่ประสบปัญหาการเคลื่อนไหวแขนได้เข้าถึงการรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่าไม่เพียงฟื้นกำลังกายกลับมาได้เท่านั้น หากแต่ยังเพิ่มกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยและคนรอบข้างได้ด้วย การใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ เพื่อยกระดับการให้บริการการฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์   เป็นความพยายามลดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวให้ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการฟื้นฟูได้ช้าหรือเร็ว ซึ่งช่วง 6 เดือนแรก หลังการเกิดโรคถือว่าเป็น “เวลาทอง”ของการฟื้นตัวของสมองและอวัยวะต่างๆ หากได้รับการฟื้นฟูในช่วงดังกล่าวจะได้ผลดีที่สุด

ผู้ป่วยจะฝึกกับนักกายภาพบำบัดเป็นเวลา 30 นาที และฝึกด้วยหุ่นยนต์อีก 30 นาที ฝึกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง  โดยหุ่นยนต์จะช่วยฝึกการออกกำลังแขนขาซ้ำๆ ในจำนวนครั้งที่มากกว่าการฟื้นฟูแบบดั้งเดิม  โดยฝึกร่วมกับเกมที่หลากหลาย ทำให้ผู้ป่วยสนุกสนานและท้าทาย ซึ่งช่วยในเรื่องการสั่งการของสมองและการเคลื่อนไหวของแขนขาได้ดียิ่งขึ้น   ที่สำคัญคนไข้ต้องออกแรงด้วยตนเองจึงจะทำให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพซึ่งจะมีจอภาพแสดงผลเป็นกราฟเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลาว่า ผู้ป่วยออกแรงเองหรือหุ่นยนต์ช่วยมากน้อยเพียงใด

ในอนาคตจะนำหุ่นยนต์ให้ผู้ป่วยเช่าไปใช้งานที่บ้านเป็นรายเดือนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล โดยมีผู้ดูแลผู้ป่วยช่วยเหลือในเรื่องการใช้งานและมีทีมนักกายภาพบำบัดติดตามการฟื้นฟู  เพื่อผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูทำให้แขนขาที่อ่อนแรงฟื้นคืนกลับมาให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องควบคุมโรคประจำตัว เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน ในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคนี้ และควรออกกำลังกายสม่ำเสมอพักผ่อนให้เพียงพอ และลดความเครียด

 

เทคโนโลยีนนี้ใช้ในต่างประเทศเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยมานานแล้ว แต่การจะนำเข้ามีค่าใช้จ่ายสูงหลายสิบล้านบาท  และขึ้นอยู่กับประเภทของหุ่นยนต์  ซึ่งการพัฒนาและผลิตหุ่นยนต์ฟื้นฟูใช้ในประเทศได้เอง  ในมาตรฐานในระดับเดียวกับต่างประเทศ  จะช่วยลดค่าใช้จ่าย ได้ถึง 7-10 เท่า  และยังทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการฟื้นฟูได้  ที่สำคัญ ยังมีค่าการบำรุงรักษาถูกกว่า

Buy now