กระหม่อม….จุดบอบบางที่สุดของทารก!

อย่างยั่งยืน ปลูกป่าในใจคน” นำคณะครูจากทั่วประเทศร่วมโครงการ ถ่ายทอดนวัตกรรมการเรียนรู้สู่เยาวชนรุ่นใหม่
July 20, 2020
ติดมือถือ อาการหนักกว่ายาเสพย์ติด…ไปซะแล้ว
July 20, 2020

กระหม่อม….จุดบอบบางที่สุดของทารก!

 

รู้ไหมว่าทารกแรกเกิดมีจุดบอบบางที่ต้องระวังเป็นพิเศษจุดนึง คือ กระหม่อม….ทำไมล่ะ? แล้วมันอยู่ตรงส่วนไหนกันล่ะ?……

 

เพราะว่าเด็กแรกเกิดจะมีพัฒนาการของกะโหลกศีรษะที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่ ซึ่งร่างกายของมนุษย์มีความมหัศจรรย์ที่ว่า ทารกจะเกิดมาพร้อมกับกะโหลกศีรษะที่เป็นแผ่นกระดูก 4 แผ่นมาประกอบกัน แต่จะไม่เชื่อมติดกับโดยระหว่างแผ่นกระดูกนั้นจะมีเยื่อบางๆ เชื่อมกระดูกทั้ง 4 แผ่นเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเรียกว่ากระหม่อม  

กระหม่อมเด็ก (Fontanels)  เป็นส่วนของกระดูกกะโหลกศีรษะที่มาประกบกัน แต่ยังไม่เชื่อมปิดกันสนิท ถ้าลองคลำดูจะพบเป็นช่องว่างที่นิ่มๆ บนศีรษะของเด็กตั้งแต่แรกเกิด มีกระหม่อมหน้าและหลัง 

 

กระหม่อมหน้ามีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้างประมาณ 3 – 4 ซม. ส่วนกระหม่อมหลังมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 1 – 2 ซม.

 

โดยทั่วไปกระหม่อมด้านหลังจะค่อยๆ ปิดและแข็งแรงมากขึ้นช่วงประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน ก่อนด้านหน้า ซึ่งส่วนด้านหน้าจะปิดลงประมาณ 12 – 18 เดือน

 

เพราะฉะนั้นถือเป็นส่วนที่บอบบางและสำคัญมากที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ บางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วทำไมร่างกายไม่ทำให้กระโหลกปิดมาตั้งแต่อยู่ในท้องเลยล่ะ จะได้ไม่เกิดอันตรายกับทารกได้ นั่นก็เพราะว่านับตั้งแต่เกิดการปฏิสนธิขึ้นในท้องจนถึงระยะเวลาที่เด็กคลอดออกมา ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาการของระบบสมองที่ถูกออกแบบมาว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต้องหลังคลอดออกมาแล้วอีกสัก 1 – 1.5 ปี ร่างกายมนุษย์จึงออกแบบแผ่นเยื่อที่เรียกว่ากระหม่อมออกมาปิดไว้ก่อน เพื่อรอระยะเวลาที่สมองได้เติบโตเต็มที่เพียงพอแล้วจึงค่อยๆ ทำให้แผ่นเยื่อเหล่านี้ค่อยๆ แข็งแรงขึ้นจนเป็นกระดูกส่วนเติมเต็มกะโหลกศีรษะ เพื่อให้สมองเติบโตได้เต็มที่นั่นเอง ซึ่งเด็กทารกที่เล็กมากๆ แล้วไม่สบายหนักเมื่อหมอต้องให้ยา หรือสารอาหารกับเด็กแรกเกิดอาจจะเคยเห็นว่ามีการให้น้ำเกลือ หรือให้ยาทางศีรษะ ผ่านตรงบริเวณกระหม่อมนี่เอง

 

กระหม่อมปิดช้าหรือเร็วเกิดจากสาเหตุใด

  • ถ้าปิดช้ากว่าปกติ พบได้ในเด็กที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ผิดปกติแต่กำเนิด, โรคหัวบาตร, มีน้ำในสมอง, โรคกระดูกอ่อน
  • ถ้าปิดเร็วกว่าปกติ อาจจะเกิดจากภาวะกระดูกกะโหลกเชื่อมต่อกันเร็ว (craniosynostosis) เด็กจะมีศีรษะเล็กและพัฒนาการช้า ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตของสมองได้ไม่เต็มที่

 

การดูแลจุดบอบบางบริเวณนี้ก็คือ

  • ต้องระวังไม่ไปจับหรือกดตรงบริเวณเหล่านั้น แรงๆ หรือบ่อยจนเกินไป
  • เวลาอาบน้ำสระผมให้เด็กอ่อนก็ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและควรทำอย่างเบามือ
  • ระวังอุบัติเหตุการกระทบกระเทือน
  • หมั่นคอยสังเกต โดยสังเกตสิ่งผิดปกติจากศีรษะลูก เช่น มีรอยบุ๋มเป็นแอ่ง อาจเกิดภาวะขาดน้ำ
  • กระหม่อมโป่งนูนขึ้น อาจมีเลือดออกในสมองหรือติดเชื้อ
  • หากไม่แน่ใจให้รีบพาลูกไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด

 

Buy now